ทำแท้งถูกกฎหมาย..เริ่มต้นยังไง?

>> หญิงที่จะเข้ารับการทำแท้งอย่างถูกกฎหมายได้ต้องมีเงื่อนไขดังนี้…<<

  1. ตรวจครรภ์แล้วพบว่าครรภ์นั้นส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตใจของผู้เป็นแม่ หากตั้งครรภ์ต่อไปอาจทำให้คุณแม่นั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ครรภ์เป็นพิษ หรือหญิงที่ป่วยทางจิตเวช และหมอเซ็นต์รับรอง ลงความเห็นว่าไม่ควรตั้งครรภ์
  2. ตรวจครรภ์แล้วพบว่าทารกในครรภ์ผิดปกติเช่น หยุดการเจริญเติบโต หรือมีโอกาสที่จะพิการและไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเองเมื่อคลอดแล้ว
  3. การตั้งครรภ์นี้เกิดการถูกข่มขืน หรือการถูกบังคับให้ร่วมเพศโดยไม่ได้ยินยอม
  4. อายุครรภ์ในการทำแท้งจะต้องไม่เกิน 12 สัปดาห์
  5. หากมีความประสงค์จะทำแท้งโดยที่อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ต้องได้รับความการอนุมัติจากแพทย์เท่านั้น

>>หากเข้าเกณฑ์ตามเงื่อนไขที่สามารถทำแท้งอย่างถูกกฎหมายได้ จะต้องทำอย่างไร?…<<

        ติดต่อสถานพยาบาลที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ และจะมีนักสังคมสงเคราะห์มาให้ข้อมูล จากนั้นหากคนไข้ยังคงเลือกที่จะยุติการตั้งครรภ์ นักสังคมสงเคราะห์จึงจะส่งตัวคนไข้ให้แพทย์ต่อไป

        หรือปรึกษาได้ที่ แอดไลน์ @cytotank

เพิ่มเพื่อน

ก่อนจะพาเข้าเนื้อหา…ผู้เขียนขอพาไปรู้จักกับความหมายที่ถูกต้องของคำว่า “แท้ง” กันก่อน

  • อ้างอิงจากพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 คำว่า “แท้ง” เป็นคำกริยา แปลว่า “สิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนกำหนด โดยที่ลูกในท้องไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้” 
  • แปลจากศัพท์ภาษาอังกฤษ คือ “Abortion” หมายถึง การยุติการตั้งครรภ์โดยการนำทารกในครรภ์หรือเอ็มบริโอออกจากมดลูกก่อนให้กำเนิด เมื่อเกิดโดยไม่เจตนามักเรียกว่า การแท้งเอง และเรียกว่า การทำแท้ง เมื่อทำโดยเจตนา 
  • ทางการแพทย์ “การแท้ง” หมายถึง การสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ก่อนที่เด็กจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นอกครรภ์มารดา โดยถือเอาการสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กยังหนักไม่ถึง 1,000 กรัม[1] 
  • ในทางกฎหมายนั้น “การแท้งลูก”  หมายถึง การทำให้เด็กที่ปฏิสนธิในครรภ์ของหญิงถูกทำลายก่อนที่จะคลอดหรือคลอดออกมาแล้วไม่มีสภาพบุคคล 

สุดท้ายแล้ว “แท้ง” ในทุกๆความหมายมีจุดร่วมกันคือ ตัวอ่อนในครรภ์ หรือ ทารกในครรภ์ หรือเด็กในครรภ์ นั้นได้ออกมาจากมดลูกก่อนกำหนดและเสียชีวิตนั่นเอง[1]

        ตามควายหมายของศัพท์ภาษาอังกฤษ Abortion หรือ การแท้งนั้นเกิดขึ้นได้ 2 กรณีคือ กรณีที่ 1 การแท้งที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ได้เจตนาเรียกว่า การแท้งเอง หรือ กรณีที่ 2 การแท้งที่เกิดจากการเจตนายุติการตั้งครรภ์เรียกว่า การทำแท้ง

        วิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาเผยว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของการแท้งเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 3 เดือนแรก หรือ 4 – 12 สัปดาห์ โดย 50 – 75 เปอร์เซ็นต์แท้งในช่วงก่อนที่ประจำเดือนจะหยุดไปหรือยังไม่ทันที่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ด้วยซ้ำเนื่องจากผู้หญิงหลายคนมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจจะมาเดือนเว้นเดือน หรืออาจจะมา 1 – 2 เดือนครั้ง พอประจำเดือนขาดไป 1 – 2 เดือนอาจไม่ได้สังเกตุ การแท้งเองนั้นมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ 10 – 15 เปอร์เซ็นต์ และยิ่งมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นในคุณแม่ที่เคยมีประวัติการแท้งเองมาแล้วซึ่งการแท้งเองก็มีสาเหตุ และ มีปัจจัยร่วมหลายอย่าง ไม่ว่าจะเกิดจากตัวของคุณแม่เองอย่างเช่น อายุ สุขภาพ ได้รับการกระทบกระเทือนการแทกบริเวณช่องท้อง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือการใช้สารเสพติด หรืออาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของทารกในครรภ์เองอย่างเช่น จำนวนโครโมโซมผิดปกติ มาก หรือ น้อยเกินไป ทำให้การเจริญเติบโตของตัวอ่อนไม่สามารถเป็นไปได้ตามปกติจนสุดท้ายก็หยุดการเจริญเติบโตและแท้งในที่สุด หรืออาจจะเกิดจากรกหรือสายสะดือที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับคุณแม่มีความผิดปกติทำให้ไม่สามารถส่งอาหารไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้ ทำให้ทารกหยุดการเจริญเติบโตและแท้งได้เช่นเดียวกัน

        ทั้งหมดทั้งมวลการแท้งเองนั้นเป็นเหตุสุดวิสัย แน่นอนว่าไม่มีคุณแม่คนไหนที่ตั้งใจและพร้อมจะมีลูกอยากจะแท้งแน่นอน ผู้เขียนต้องขอแสดงความเสียใจกับคุณแม่ที่ต้องประสบกับเหตุการณ์อันน่าเศร้ามา ณ ที่นี้ด้วย

        ต่อไปเรามาดูกันดีกว่าว่าในเมื่อการแท้งเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ แล้วทำไมการตั้งใจทำแท้งถึงผิด!!!

        อ้างอิงจากประมวลกฎหมายอาญา 2499 ลักษณะที่ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย หมวด 3 ความผิดฐานทำให้แท้งลูก มีรายละเอียดดังนี้

        มาตรา 301 หญิงใดทําให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทําให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

        มาตรา 302 ผู้ใดทําให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

        ถ้าการกระทํานั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

        ถ้าการกระทํานั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 305 ถ้าการกระทําความผิดดังกล่าวในมาตรา 301 และมาตรา 302 นั้น เป็นการกระทําของนายแพทย์และ

        (1) จําเป็นต้องกระทําเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ

        (2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทําความผิดอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283 หรือมาตรา 284 

                ผู้กระทำไม่มีความผิด

        จากตัวบทกฎหมายชุดนี้แสดงให้เห็นว่าการตั้งใจยุติการตั้งครรภ์ หรือ ตั้งใจทำแท้ง โดยที่สุขภาพของคุณแม่สมบูรณ์แข็งแรงดี ทารกในครรภ์ก็สมบูรณ์ดี และการตั้งครรภ์นี้ไม่ได้เกิดจากการข่มขืน ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผิดกฎหมาย ผู้หญิงที่ทำแท้ง และแพทย์ที่ทำแท้งให้จะมีความผิดโดนจับติดคุกได้

        

error: Content is protected !!