ทำแท้งถูกกฏหมายในทางปฏิบัติ ทำได้แค่ไหนกัน

ยินดีด้วย! ในที่สุดเราก็ได้มีกฎหมายที่ประกันสิทธิของประชาชนเพิ่มขึ้นมาอีก 1 เรื่องสักที อีกครั้งหนึ่งที่ประเทศไทยได้ก้าวข้ามขีดจำกัดอีกก้าวหนึ่งแล้ว เรามีกฎหมายที่พ้นจากกรอบความควบคุมความคิดทางศาสนา จารีต และประเพณี มีพัฒนาการมาสู่กฎหมายเทคนิคเฉพาะ เพื่อสิทธิมนุษยชน และความเป็นไปของมนุษย์

แต่ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถช่วยให้ผู้หญิง 1 คนที่ท้องไม่พร้อมยุติการตั้งครรภ์ได้จริงหรือ? มาดูกันว่าการที่ผู้หญิงคนหนึ่ง จะเดินเข้าไปรับการยุติการตั้งครรภ์จากภาครัฐนั้นต้องเจอกับอะไรบ้าง มาดูเงื่อนไขก่อนเข้ารับการรักษาตามประกาศสธ.

  1. พบปัญหาสุขภาพทางกาย/จิตใจ
  2. เสี่ยงคลอดทารกที่มีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง
  3. ตั้งครรภ์หลังจากเกี่ยวพันกับการกระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับเพศ
  4. อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์
  5. อายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์หลังได้รับคำปรึกษาตามกฎหมาย

ทั้งนี้กรณี 1-3 หญิงสามารถทำแท้งได้ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุครรภ์

เมื่อดูจากเงื่อนไขตามกฏหมายใหม่แล้ว ดูเป็นเรื่องง่ายและราบรื่นมากหากผู้หญิงรับเข้าการรักษาในโรงพยาบาล แล้วปัญหามันอยู่ตรงไหนหละ? คุณสามารถเดินเข้าไปหาหมอแล้วยืนยันว่าต้องการยุติการตั้งครรภ์ได้เลยมั้ย แต่ในความเป็นจริงแล้วจะมีกี่โรงพยาบาลที่รอบรับกับกฎหมายใหม่พวกนี้ กทม.จาก110 โรงพยาบาลกลับมีเพียง 5 โรงพยาบาลเท่านั้นที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ ไม่ต้องพูกถึงต่างจังหวัดที่ผู้หญิงเหล่านั้นต้องเดินทางข้ามจังหวัดหลายๆจังหวัด ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดเพื่อเข้ารับการรักษา

แล้วทำไมทุกโรงพยาบาลถึงไม่ให้การรักษาในเมื่อเรามีกฎหมายทำแท้งใหม่แล้ว?

การทำแท้งในไทยตอนนี้นั้นยังใช้วิธีทางหัตถการอยู่ พูดง่ายๆก็คือใช้หมอนี่แหละขูดมดลูกให้ และไม่ใช่หมอสูติทุกคนที่ยินดีที่จะทำแท้งให้คุณ ในเมื่อหมอก็เป็นคนมีความรู้สึกผิดบาปเช่นเดียวกับปุถุชนทั่วไป จะทำอย่างไรเมื่อสำนึกของหมอส่วนใหญ่นั้นหมอคือผู้ช่วยชีวิตไม่ใช่ผู้ทำลายชีวิต ถึงกฎหมายจะกำหนดไว้แบบแบบนั้นเราสามารถบังคับหมอให้ทำแท้งได้หรือไม่?

ปัญหาอีกข้อคือหญิงที่อายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ต้องได้รับคำปรึกษาก่อน หมายความว่าคุณอาจจะต้องเจอกับเจ้าหน้าที่อีกหลายๆฝ่ายก่อนได้รับการรักษา ซึ่งกล้าพูดได้เต็มปากว่าไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่จะกล้าเล่าเรื่องแบบนี้ให้ใครฟัง ยังไม่รวมหญิงที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ที่ต้องมีผู้ปกครองให้การยินยอมอีกด้วย มันไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้หญิงคนหนึ่ง

ยังไม่รวมปัญหายิบย่อยเช่น ยกตัวอย่างการเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลลแห่งหนึ่ง ต้องผ่านผู้ให้คำปรึกษาด่านแรกที่จะจองคิวนัดหมายให้คุณ คงจะดีถ้าเขาไม่ได้ทำเพื่อเก็บค่าหัวคิว คุณอาจจะเสียเงินน้อยกว่าหากคุณเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยตรงโดยไม่ผ่านพวกเขาเหล่านั้น

สุดท้ายนี่ยินดีอีกครั้งกับกฎหมายทำแท้งใหม่

เพราะไม่ควรมีมนุษย์คนไหนต้องเกิดขึ้นมาใช้ชีวิตบนโลกโดยที่ปราศจากความพร้อมในการเลี้ยงดูของพ่อแม่ หรือเกิดขึ้นมาในสังคมที่ไม่แน่นอนเช่นในปัจจุบัน ยุติการตั้งครรภ์โดยความสมัครใจ ปลอดภัย และได้รับการดูแลที่ดีภายใต้ความควบคุมของแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถ ลดความเสี่ยงจากอันตรายจากการทำแท้งเถื่อน และลดความเสี่ยงการเสียชีวิตเพราะตกเลือดมากในผู้ยุติการตั้งครรภ์อย่างไม่ถูกสุขลักษณะ

หรือหากคุณไม่ต้องการเข้ารับการรักษาทางหัตถการ สามารถปรึกษาเพื่อรับยาไปทำเองที่บ้านได้

เพิ่มเพื่อน

เหตุใดจึงยังมีผู้หญิงจำนวนมากที่ตัดสินใจทำแท้ง!!! 

สาเหตุหลักในการทำแท้งของผู้หญิงในสมัยก่อนนั้นมักจะเป็นสาเหตุมาจากการถูกข่มขืน แต่หากพูดถึงการข่มขืนหลายคนคงนึกภาพหญิงสาวถูกฉุดกระชากไปยังที่เปลี่ยวข้างทาง แต่จริงๆแล้วไม่ใช่แบบนั้น อ้างอิงจากพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 คำว่า “ข่มขืน” เป็นคำกริยา หมายถึง บังคับ, ขืนใจ, ขู่เข็ญ. ส่วนคำว่า “ข่มขืนกระทำชำเรา” เป็นคำนาม หมายถึง เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำ ชำเราบุคคลอื่น ไม่ว่าผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำจะเป็นชายหรือหญิง และจะเป็นคู่สมรสของตนหรือไม่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้ถูกกระทำอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นสามีภรรยา หรือ คนอื่น หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้เต็มใจนับเป็นการข่มขืนทั้งสิ้น เช่นนั้นแล้ว เมื่อเพศสัมพันธ์ครั้งนั้นไม่ได้เกิดจากความเต็มใจ หรือ ความต้องการที่ตรงกันทั้งสองฝ่าย เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ทารกในครรภ์ หรือ ลูกในท้อง ย่อมไม่เป็นที่ต้องการของคนเป็นพ่อและแม่เป็นที่แน่นอน นี่จึงเป็นสาเหตุหลักที่นำมาสู่การตัดสินใจทำแท้งในอดีต

แม้ในปัจจุบันการทำแท้งอาจจะยังมีสาเหตุมาจากการถูกข่มขืน จากสถิติที่เปิดเผยโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ประเทศไทยมีสถิติความรุนแรงต่อผู้หญิงสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก พบผู้หญิงถูกละเมิดทางเพศ ถูกกระทำความรุนแรงทางร่างกายหรือจิตใจ ไม่น้อยกว่า 7 คน/วัน และมีสถิติผู้หญิงที่เข้ารับการบำบัดรักษา แจ้งความร้องทุกข์ประมาณปีละ 30,000 คน ขณะที่รายงานของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) พบกว่าร้อยละ 87 ของคดีการถูกล่วงละเมิดทางเพศไม่เคยถูกรายงาน และจากการสำรวจสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิง และบุคคลในครอบครัวของไทยระดับประเทศ พบความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.6 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 42.2 ในปี 2563 โดยความรุนแรงทางเพศคิดเป็นร้อยละ 4.5

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยในด้านสภาพเศรฐกิจ สังคม และอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ผู้คนเริ่มให้ความสนใจในเรื่องของความพร้อมด้านการเลี้ยงดู ค่าใช้จ่าย และคุณภาพชีวิตทั้งด้านการศึกษา และการเจริญเติบโตของลูก สภาพแวดล้อมของสังคมและครอบครัวที่ดี เช่นในครอบครัวที่แต่งงานแล้วแม้ว่าการตั้งครรภ์ มีบุตร จะไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย หรือบางครอบครัวมีบุตรอยู่แล้ว แต่ด้วยสภาพเศรฐกิจที่ถดถอย รายได้อาจจะลดลง บางครอบครัวตกงาน ประกอบกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ลำพังแค่ประคองกันเองยังลำบาก หากมีลูกเพิ่มมา 1 คนอีกคงไม่ใช่เรื่องที่ดีอย่างแน่นอน จึงเป็นเหตุที่ทำให้ครอบครัวที่เหมือนจะพร้อมก็ยังคงเลือกที่จะทำแท้ง

อีกปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องของอายุ เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันผู้หญิงมีความเท่าเทียมกับผู้ชายมากขึ้นทั้งทางด้านการศึกษา หน้าที่การงาน  ความรับผิดชอบ และความสามารถในการเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว  เพราะฉะนั้นแล้วในอายุแต่ละช่วงวัย ก็มักจะมีสาเหตุในการตัดสินใจทำแท้งที่แตกต่างกันไปตามบทบาท หรือภาระหน้าที่ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม อย่างเช่น ในวัยรุ่นที่ยังเรียนอยู่แน่นอนน้องๆทุกคนเข้าใจว่าการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ แต่เนื่องจากฮอร์โมนในวัยนี้กำลังเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นการอยากรู้ อยากลองเรื่องเพศ การมีแฟน การมีเพศสัมพันธ์ เป็นเรื่องปกติธรรมชาติตามวัยของเขา แต่ด้วยวัฒนธรรมความเชื่อของสังคมที่มองว่าการกระทำ การสั่งสอน หรือการพูดคุยเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าอาย ทำให้ผู้หญิงและผู้ชายในวัยนี้ขาดความรู้ในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์อย่างระมัดระวัง และปลอดภัยไม่ว่าจะด้วยการป้องกันการท้องไม่พร้อม หรือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อเกิดความพลาดท้องขึ้นมา ก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำแท้ง เพื่อรักษาอนาคตทางการศึกษาของตัวเองไว้ เพราะถ้าไม่ทำแท้ง ก็ไม่สามารถอุ้มท้องไปเรียนได้ แม้ว่าโรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัยจะไม่ได้กฎข้อใดห้ามนักเรียน หรือ นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ไม่ให้ไปเรียน แต่ด้วยสภาพค่านิยมของสังคม หากอุ้มท้องไปเรียนก็จะตกเป็นที่นินทาจากคนรอบข้าง ทำให้เกิดความอับอาย ไม่มั่นใจและไม่สามารถเรียนได้อย่างมีความสุข การทำแท้งจึงเป็นทางออกเดียวที่จะทำให้สามารถรักษาอนาคตทางด้านการศึกษาของตนเองไว้ได้

ในวัยถัดมานั่นก็คือวัยทำงาน วัยนี้ดูเหมือนจะมีความพร้อมในการเลี้ยงดู แต่จริงๆแล้วหลายคนไม่เป็นเช่นนั้นเลย ผู้หญิงบางคนขัดสนในเรื่องของสภาพคล่องทางการเงิน บางคนยังไม่มีงานทำ หรือบางคนมีรายได้น้อย บางคนมีภาระค่าใช้จ่ายเยอะ ลำพังเลี้ยงตัวเอง เลี้ยงครอบครัว หรือรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆที่มีในปัจจุบันก็หนักแล้ว การมีเด็กอีก 1 คนเข้ามาในชีวิตให้ต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้นคงไม่ใช่เรื่องดีสักเท่าไหร่ หรือผู้หญิงบางคนอาจจะไม่ได้ขัดสนใจเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน แต่ไม่มีความพร้อมในการเลี้ยงบุตร เช่น ยังไม่ได้ตั้งใจจะสร้างครอบครัว หรือบางอาชีพไม่ควรตั้งครรภ์เพราะการตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานเป็นอย่างมาก หรือแม้สาเหตุที่น่าลำบากใจที่สุดคือ ผู้หญิงบางคนกำลังเป็นโลกอีกใบของผู้ชายบางคน การทำแท้งคงจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

วัยสุดท้ายคือวัยกลางคนหรือวัยใกล้หมดประจำเดือน ผู้หญิงวัยนี้ก็ยังสามารถตั้งครรภ์ได้ ไม่ใช่ว่าเห็นตัวเองอายุเยอะแล้วจะไม่ท้อง ตราบใดที่ประจำเดือนยังไม่หมด ก็สามารถท้องได้ตลอด แต่ด้วยอายุที่มากขึ้น ความสมบูรณ์ของร่างกายก็น้อยลง ผู้หญิงในวัยนี้มักตัดสินใจทำแท้งด้วยเหตุผลที่ว่า อายุเยอะแล้ว บางคนมีลูกมาแล้ว บางคนมีลูกหลายคนแล้วด้วย และลูกๆก็โตกันหมดแล้ว ถ้าจะต้องมานั่งเลี้ยงลูกเล็กตอนอายุเยอะคงไม่สะดวก ไหนจะเรื่องค่าใช้จ่าย ผู้หญิงหลายคนวัยนี้ก็ใกล้เกษียญแล้วเลี้ยวหลานอาจจะเหมาะกว่า และด้วยวัยที่มากขึ้นมีโอกาสสูงมากที่เด็กจะเกิดมาไม่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา ซึ่งก็เป็นอีกเหตุผลหลักที่ผู้หญิงวัยนี้เลือกที่จะทำแท้งเช่นเดียวกัน

        จากข้อความข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ตัดสินใจทำแท้งมักมีเหตุผลส่วนตัวที่สำคัญทั้งนั้นไม่ว่าจะเพื่อตัวเอง หรือ เพื่อลูกในท้องก็ตาม พออ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงตั้งคำถามว่าทำไมไม่ป้องกันแต่แรก เชื่อหรือไม่!!! ว่ามีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ป้องกันแล้วแต่ก็ยังพลาดได้

หากคุณคือหนึ่งในผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม สามารถปรึกษาและหาทางออกรวมกันได้ พูดคุยกับเราได้ที่

เพิ่มเพื่อน

ทำแท้งถูกกฎหมาย..เริ่มต้นยังไง?

>> หญิงที่จะเข้ารับการทำแท้งอย่างถูกกฎหมายได้ต้องมีเงื่อนไขดังนี้…<<

  1. ตรวจครรภ์แล้วพบว่าครรภ์นั้นส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตใจของผู้เป็นแม่ หากตั้งครรภ์ต่อไปอาจทำให้คุณแม่นั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ครรภ์เป็นพิษ หรือหญิงที่ป่วยทางจิตเวช และหมอเซ็นต์รับรอง ลงความเห็นว่าไม่ควรตั้งครรภ์
  2. ตรวจครรภ์แล้วพบว่าทารกในครรภ์ผิดปกติเช่น หยุดการเจริญเติบโต หรือมีโอกาสที่จะพิการและไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเองเมื่อคลอดแล้ว
  3. การตั้งครรภ์นี้เกิดการถูกข่มขืน หรือการถูกบังคับให้ร่วมเพศโดยไม่ได้ยินยอม
  4. อายุครรภ์ในการทำแท้งจะต้องไม่เกิน 12 สัปดาห์
  5. หากมีความประสงค์จะทำแท้งโดยที่อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ต้องได้รับความการอนุมัติจากแพทย์เท่านั้น

>>หากเข้าเกณฑ์ตามเงื่อนไขที่สามารถทำแท้งอย่างถูกกฎหมายได้ จะต้องทำอย่างไร?…<<

        ติดต่อสถานพยาบาลที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ และจะมีนักสังคมสงเคราะห์มาให้ข้อมูล จากนั้นหากคนไข้ยังคงเลือกที่จะยุติการตั้งครรภ์ นักสังคมสงเคราะห์จึงจะส่งตัวคนไข้ให้แพทย์ต่อไป

        หรือปรึกษาได้ที่ แอดไลน์ @cytotank

เพิ่มเพื่อน

ก่อนจะพาเข้าเนื้อหา…ผู้เขียนขอพาไปรู้จักกับความหมายที่ถูกต้องของคำว่า “แท้ง” กันก่อน

  • อ้างอิงจากพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 คำว่า “แท้ง” เป็นคำกริยา แปลว่า “สิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนกำหนด โดยที่ลูกในท้องไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้” 
  • แปลจากศัพท์ภาษาอังกฤษ คือ “Abortion” หมายถึง การยุติการตั้งครรภ์โดยการนำทารกในครรภ์หรือเอ็มบริโอออกจากมดลูกก่อนให้กำเนิด เมื่อเกิดโดยไม่เจตนามักเรียกว่า การแท้งเอง และเรียกว่า การทำแท้ง เมื่อทำโดยเจตนา 
  • ทางการแพทย์ “การแท้ง” หมายถึง การสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ก่อนที่เด็กจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นอกครรภ์มารดา โดยถือเอาการสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กยังหนักไม่ถึง 1,000 กรัม[1] 
  • ในทางกฎหมายนั้น “การแท้งลูก”  หมายถึง การทำให้เด็กที่ปฏิสนธิในครรภ์ของหญิงถูกทำลายก่อนที่จะคลอดหรือคลอดออกมาแล้วไม่มีสภาพบุคคล 

สุดท้ายแล้ว “แท้ง” ในทุกๆความหมายมีจุดร่วมกันคือ ตัวอ่อนในครรภ์ หรือ ทารกในครรภ์ หรือเด็กในครรภ์ นั้นได้ออกมาจากมดลูกก่อนกำหนดและเสียชีวิตนั่นเอง[1]

        ตามควายหมายของศัพท์ภาษาอังกฤษ Abortion หรือ การแท้งนั้นเกิดขึ้นได้ 2 กรณีคือ กรณีที่ 1 การแท้งที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ได้เจตนาเรียกว่า การแท้งเอง หรือ กรณีที่ 2 การแท้งที่เกิดจากการเจตนายุติการตั้งครรภ์เรียกว่า การทำแท้ง

        วิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาเผยว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของการแท้งเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 3 เดือนแรก หรือ 4 – 12 สัปดาห์ โดย 50 – 75 เปอร์เซ็นต์แท้งในช่วงก่อนที่ประจำเดือนจะหยุดไปหรือยังไม่ทันที่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ด้วยซ้ำเนื่องจากผู้หญิงหลายคนมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจจะมาเดือนเว้นเดือน หรืออาจจะมา 1 – 2 เดือนครั้ง พอประจำเดือนขาดไป 1 – 2 เดือนอาจไม่ได้สังเกตุ การแท้งเองนั้นมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ 10 – 15 เปอร์เซ็นต์ และยิ่งมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นในคุณแม่ที่เคยมีประวัติการแท้งเองมาแล้วซึ่งการแท้งเองก็มีสาเหตุ และ มีปัจจัยร่วมหลายอย่าง ไม่ว่าจะเกิดจากตัวของคุณแม่เองอย่างเช่น อายุ สุขภาพ ได้รับการกระทบกระเทือนการแทกบริเวณช่องท้อง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือการใช้สารเสพติด หรืออาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของทารกในครรภ์เองอย่างเช่น จำนวนโครโมโซมผิดปกติ มาก หรือ น้อยเกินไป ทำให้การเจริญเติบโตของตัวอ่อนไม่สามารถเป็นไปได้ตามปกติจนสุดท้ายก็หยุดการเจริญเติบโตและแท้งในที่สุด หรืออาจจะเกิดจากรกหรือสายสะดือที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับคุณแม่มีความผิดปกติทำให้ไม่สามารถส่งอาหารไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้ ทำให้ทารกหยุดการเจริญเติบโตและแท้งได้เช่นเดียวกัน

        ทั้งหมดทั้งมวลการแท้งเองนั้นเป็นเหตุสุดวิสัย แน่นอนว่าไม่มีคุณแม่คนไหนที่ตั้งใจและพร้อมจะมีลูกอยากจะแท้งแน่นอน ผู้เขียนต้องขอแสดงความเสียใจกับคุณแม่ที่ต้องประสบกับเหตุการณ์อันน่าเศร้ามา ณ ที่นี้ด้วย

        ต่อไปเรามาดูกันดีกว่าว่าในเมื่อการแท้งเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ แล้วทำไมการตั้งใจทำแท้งถึงผิด!!!

        อ้างอิงจากประมวลกฎหมายอาญา 2499 ลักษณะที่ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย หมวด 3 ความผิดฐานทำให้แท้งลูก มีรายละเอียดดังนี้

        มาตรา 301 หญิงใดทําให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทําให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

        มาตรา 302 ผู้ใดทําให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

        ถ้าการกระทํานั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

        ถ้าการกระทํานั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 305 ถ้าการกระทําความผิดดังกล่าวในมาตรา 301 และมาตรา 302 นั้น เป็นการกระทําของนายแพทย์และ

        (1) จําเป็นต้องกระทําเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ

        (2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทําความผิดอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283 หรือมาตรา 284 

                ผู้กระทำไม่มีความผิด

        จากตัวบทกฎหมายชุดนี้แสดงให้เห็นว่าการตั้งใจยุติการตั้งครรภ์ หรือ ตั้งใจทำแท้ง โดยที่สุขภาพของคุณแม่สมบูรณ์แข็งแรงดี ทารกในครรภ์ก็สมบูรณ์ดี และการตั้งครรภ์นี้ไม่ได้เกิดจากการข่มขืน ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผิดกฎหมาย ผู้หญิงที่ทำแท้ง และแพทย์ที่ทำแท้งให้จะมีความผิดโดนจับติดคุกได้

        

error: Content is protected !!